วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

Reset password [Linux]

ขั้นตอนวิธีการรีเซ็ตรหัสผ่านของ Linux

ในชีวิตของเราคงมีซักครั้งหนึ่งในชีวิตที่ต้องลืมอะไรซักอย่าง ไม่ว่าจะ กระเป๋าตัง กุญแจรถ ลืมวันสำคัญ ลืมคืนเงินที่ยืม(อันนี้ไม่ควรลืมนะครับ) ฯลฯ  และในการลืมแต่ละครั้งก็จะทำให้วุ่นวายพอสมควร

แต่หากผู้อ่านลืมรหัสผ่านของ Linux ของคุณละก็ เรื่องมันจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไปหากได้เข้ามาอ่านในบทความนี้  เริ่มกันเลย....

ขั้นตอนที่ 1 เลือก boot "Advanced options for Ubuntu"

ขั้นตอนที่ 2 เลือก recovery mode

ขั้นตอนที่ 3 เลือก root


ขั้นตอนที่ 4 พิมพ์คำสั่ง(ดังรูป)


ในบรรทัดแรกคือ    #  mount -o rw,remount /  
*(-โอ)
บรรทัดที่ 2 คือ         #  ls /home                          
*(แล้วจะแจ้งชื่อผู้ใช้ ในเครื่องนี้คือ jeeranan )

ต่อ
บรรทัดที่ 4 คือ        # passwd jeeranan
*ใส่ชื่อผู้ใช้หลัง passwd
บรรทัดที่ 5 ให้ใส่รหัสผ่านที่ต้องการเปลี่ยน และใส่ซ้ำอีกครั้งในบรรทัดที่ 6

**หากใส่รหัสผ่านผิดจะขึ้นดังรูป ให้เริ่มทำใหม่ที่ # passwd
**หากใส่ถูกต้องจะขึ้นดังรูปนี้ successfully

หลังจากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง # exit เพื่อออกไปหน้านี้
และเลือก resume เพื่อทำการ boot Linux ขั้นมาใช้งานได้เลย

*********************************************************************
ขั้นตอนข้างต้นอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงแนะนำให้ผู้อ่านจดจำรหัสผ่านให้ได้ เช่น
1. ใช้รหัสที่มีความหมายหรือคำย่อของความหมายนั้นๆ ไม่ใช้มั่วๆ
เช่น Dog1945Face*   ใช้สิ่งที่เราชอบ ชุดตัวเลขที่จำได้และเว็ปที่สมัคร เสริมด้วยอักขระ เพื่อให้มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
2. หาสมุดเล็กๆในการเขียนรหัสผ่านต่างๆเข้าไป (หากทำสมุดหาย อันนี้ไม่สามารถ recovery ได้นะครับ^^)

สำหรับวันนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และขอขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่านครับ

*** Thank You ***

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีติดตั้ง Ubuntu บน Oracle VM VirtualBox

วันนี้เราจะมาดูวิธีการติดตั้ว Ubuntu บน VirtualBox กันนะครับ


ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด Ubuntu ก่อนตามระเบียบครับ Download Ubuntu เลือกเวอร์ชั่นใหนก็ได้ครับ ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟรีให้เลือก Not now, take me to the download

1. เปิดโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ขึ้นมาก็คลิกไปตามลำดับภาพเลยครับ




2. ตั้งชื่อ และเลือกระบบปฏิบัติการ




3. ตั้งค่าแรม ถ้ามีแรมเยอะก็ตั้งเป็น 1024 MB. ไปเลยครับจะได้ทำงานเร็วๆ




4. เลือกจำลองฮาร์ดดิส





5. ถ้าต้องการกำหนดพื้นที่ฮาร์ดดิสเองก็ให้เลือก Fixed size




6. กำหนดขนาดเนื้อที่ฮาร์ดดิสที่ต้องการ




7. เลือก Settings




8. กดเลือกไปตามหมายเลขเพื่อที่จะ mount iso ระบบปฎิบัติการที่เราดาวน์โหลดมา




9. เลือกระบบปฎิบัติการ




10. กด Start เพื่อติดตั้ง




11. กด Install




12. เลือกตามรูป แล้วกด Continue




13. ส่วนนี้ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ได้ล้างฮาร์ดดิสทั้งหมดของเรา แต่ล้างเฉพาะพื้นที่ส่วนที่ VirtualBox สร้างไว้เท่านั้นครับ กด Continue




14. เลือกทำเลและภาษา





15. ตั้งชื่อ และ พาสเวิร์ด




16. ถึงตรงนี้ก็รอครับ อาจจะนานหน่อยแล้วแต่ความเร็วของเครื่อง ถ้าต่อเน็ตก็รวมทั้งความเร็วเน็ตด้วยครับ





พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ปิดโปรแกรมไปก่อน แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ก็กด Start เลยครับโปรแกรมก็จะรันระบบปฎิบัติการ
แล้วก็จะได้ตามภาพนี้ครับ แต่น..แต๊น....



อ้างอิงจาก : Nikhorn Thongchuay

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2

สวัสดีครับ วันนี้ผมก็จะมานำเสนอเกี่ยวกับการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์กันอีกรอบนะครับ
แต่วันนี้เราจะไม่ได้เลือกตามธรรมดา เราจะเลือกโดยอ้างอิงจาก

 - เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจําปีพ.ศ. 2559 อ้างอิง
โดยเลือกเกณฑ์ 
 - เครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานประมวลผลแบบที่ 2 ราคา 29,000 บาท
โดยมีคุณสมบัติดังรูปด้านล่างนี้เลยครับ


โดยเราได้จัดสเปกอุกรณ์มาดังรูปนี้เลย
โดยได้ใช้งบไปทั้งสิ้น 27,390 บาท โดยประมาณครับ ในงบส่วนที่เหลือก็สามารถจัดหาซื้อเมาส์ คีบอร์ด DVD-RW และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้

หลักการเลือกของผมโดยงบที่มีจำนวนมาก ผมก็จะใช้เกณฑ์ที่คุณภาพของอุปกรณ์เป็นหลัก เช่น จอก็เพิ่มขนาดเป็น 24 นิ้ว GPU หรือ CPU ก็ใช้รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง 

สรุปคุณสมบัติและข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ


วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

จัดคอมพิวเตอร์ สำหรับงานต่างๆ

สวัสดีครับ วันนี้เราก็จะมารีวิวการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ โดยที่จะจัดในวันนี้มีอยู่ 2 การใช้งานด้วยกัน
1. สำหรับ Home office ในราคาประมาณ 17500
2. สำหรับเล่นเกมขั้นเริ่มต้น ในราคาประมาณ 21000

ก่อนอื่นเรามาดูการพิจารณาในการเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ
1. กำหนดงบประมาณและการใช้งาน การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนจะเป็นการใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าที่สุด หากไม่กำหนดมาก่อน อาจทำให้เราใช้อุปกรณ์ที่แพงเกินการใช้งาน หรือประสิทธิภาพต่ำเกินไปก็ได้
2. ขนาดของเคส เคสจะมีความเหมาะสมหรือไม่ในการใช้งานต่อพื้นที่ของเรา เช่น หากทำงานใน office ที่มีเฟอนิเจอร์ที่ขนาดจำกัด เราก็ควรเลือกให้ขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ แต่ถ้าไม่จำกัดพื้นที่ก็ข้ามข้อนี้ไปก่อนได้เลย
3. เลือกอุปกรณ์ต่าง ได้แก่ CPU, GPU, Mainboard, RAM, Hard disk, PSU โดยการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องดูงบประมาณที่กำหนดไว้ และดูว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นรองรับกันและกันหรือไม่


สำหรับสเปคที่ผมได้เลือกไว้ได้แก่
1. สำหรับ Home office


2. สำหรับเล่นเกมเบื้องต้น
ในส่วนงบที่เหลือเราก็สามารถนำไปเลือกซื้อจอ และเมาส์ คีบอร์ดได้ตามใจชอบ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์

การเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์

เพื่อนๆหลายๆคนคงเคยได้ยินเสียงปิ๊บๆ  หรือปี๊บบบ ยาวๆตอนเปิดเครื่อง   แต่ทราบหรือไม่ว่าขั้นตอนนั้นเกิดจากอะไร  วันนี้ผมจะมาอธิบายขั้นตอนการเปิดเครื่องและการตรวจสอบตนเองของคอมพิวเตอร์


ขั้นที่ 1 กดปุ่มสตาร์ท หรือ ออนเครื่องโดยใช้ไขควงแตะที่ ATX Power switchขั้นที่ 2 Power supply ส่งไฟฟ้าไปเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ และส่งสํญญาณ(โดยใช้ทรานซิสเตอร์)ไปยังเมนบอร์ดและ CPU
ขั้นที่ 3 CPU จะล้างข้อมูลในรีจิสเตอร์และมีผลให้โปรแกรมเคาน์เตอร์มีค่าเท่ากับ F000 เป็นตัวเลขที่อยู่ในคำสั่งแรก โดยจะสั่งให้ CPU พร้อมประมวลผลที่อยู่ใน BIOS
ขั้นที่ 4 เมื่อ BIOS ทำงานครั้งแรก จะเริ่มขบวนการ POST (Power-on self-test) โดยมีการตรวจสอบตามลำดับดังนี้


  • ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ว่าพร้อมใช้หรือไม่ หากมีปัญหาจะส่ง Beep Code เตือน
  • ตรวจ system time และ date ที่อยู่ใน 64 ไบต์แรกของ CMOS
  • ตรวจสอบและเปรียบเทียบค่าที่เราตั้งไว้ กับสิ่งที่ติดตั้งในเครื่องหากไม่มีข้อผิดพราดจะโหลดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์พื้นฐาน(Basic device drive) และตัวขัดจังหวะ(Interrupt handler)สำหรับฮาร์ดแวร์ต่างๆ
  • ตรวจสอบนาฬิกาเวลาจริง (RTS : Real-time Clock) และระบบบัสของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้ว่าทำงานสัมพันธ์กันหรือไม่
  • BIOS ตรวจสอบว่าเป็น Cold boot หรือ Warm boot
  • ทดสอบหน่วยความจำ RAM
  • ทดสอบ Drive Disk ต่างๆ
หากการทดสอบทั้งหมดไม่มีปัญหาก็จะเริ่มกระบนการโหลดระบบปฏิบัติการ (OS)



ประเภทของการบู๊ตเครื่อง 
ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ

โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป

วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
  • กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
  • กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
  • สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

สาธิตการถอด-ประกอบคอมพิวเตอร์ และกสนออนเครื่องนอกเคส


สำหรับวันนี้เราก็จะมาสาธิต วิธีการถอดประกอบคอมพิวเตอร์ และการออนเครื่องนอกเคสกันนะครับ

ขั้นตอนอาจจะยุ่งยากไปบ้าง  ไปรับชมกันเลยดีกว่าครับ






เป็นไงกันบ้างครับ ผมหวังว่าคลิปวีดีโอนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปิดเครื่อง จากเมนบอร์ด

สวัสดีครับ วันนี้ผมก็จะมารีวิววิธีการเปิดเครื่องจากเมนบอร์ดรุ่น Asus p4s333-vm โดยที่ไม่ต้องต่อเคสหรือไม่มีสวิทช์ใดๆนะครับ

อันดับ1 ถอดเครื่องออกมาจากเคสให้เรียบร้อย

จากเครื่องเดิมๆ
ถอดอุปกรณ์ต่างๆออกจากเคส


อันดับ2 ถอดอุปกรณ์ออกจากเคสแล้วนำมาประกอบเข้ากับ Main Board ให้เหมือนเดิม  โดยอุปกรณ์หลักๆต้องครบ ได้แก่ Main Board, CPU, RAM, Power supply, Hard disk เป็นต้น

อันดับ3 ให้ถอดสายที่ต่อจาก HPANEL1 ที่ต่อเข้าเคสออก


ป.ล. หากไม่ทราบว่าเป็นส่วนใด สามารถดูได้จาก Data cheet ได้ที่ ดาวน์โหลด (Dropbox ของผมเอง ไม่มีไวรัสใดๆ)

อันดับ4 ให้ใช้น็อตหรือก้านโลหะที่มีลักษณะเป็นง่ามหรือ 2 แฉก แตะไปบน ก้านในช่อง ATX Power switch หรือช่องที่ 4 และ 5 นับจากข้างล่างดังรูป เป็นเวลาซักพัก ก็สามารถเปิด หรือ ปิด คอมพิวเตอร์ได้เลย

ข้อดี หากคุณประสบปัญหาสวิทช์พัง เคสหาย(หายไปได้ไง) เพียงแค่คุณรู้จักวิธีเปิดปิดคอมผ่าน ATX Power switch เพียงแค่นี้ คุณก็สามารถเปิดคอมเพื่อมาทำงานวิจัยที่เร่งด่วนได้โดยพลัน