วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

จัดคอมพิวเตอร์ สำหรับงานต่างๆ

สวัสดีครับ วันนี้เราก็จะมารีวิวการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ โดยที่จะจัดในวันนี้มีอยู่ 2 การใช้งานด้วยกัน
1. สำหรับ Home office ในราคาประมาณ 17500
2. สำหรับเล่นเกมขั้นเริ่มต้น ในราคาประมาณ 21000

ก่อนอื่นเรามาดูการพิจารณาในการเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ
1. กำหนดงบประมาณและการใช้งาน การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนจะเป็นการใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าที่สุด หากไม่กำหนดมาก่อน อาจทำให้เราใช้อุปกรณ์ที่แพงเกินการใช้งาน หรือประสิทธิภาพต่ำเกินไปก็ได้
2. ขนาดของเคส เคสจะมีความเหมาะสมหรือไม่ในการใช้งานต่อพื้นที่ของเรา เช่น หากทำงานใน office ที่มีเฟอนิเจอร์ที่ขนาดจำกัด เราก็ควรเลือกให้ขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ แต่ถ้าไม่จำกัดพื้นที่ก็ข้ามข้อนี้ไปก่อนได้เลย
3. เลือกอุปกรณ์ต่าง ได้แก่ CPU, GPU, Mainboard, RAM, Hard disk, PSU โดยการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องดูงบประมาณที่กำหนดไว้ และดูว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นรองรับกันและกันหรือไม่


สำหรับสเปคที่ผมได้เลือกไว้ได้แก่
1. สำหรับ Home office


2. สำหรับเล่นเกมเบื้องต้น
ในส่วนงบที่เหลือเราก็สามารถนำไปเลือกซื้อจอ และเมาส์ คีบอร์ดได้ตามใจชอบ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์

การเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์

เพื่อนๆหลายๆคนคงเคยได้ยินเสียงปิ๊บๆ  หรือปี๊บบบ ยาวๆตอนเปิดเครื่อง   แต่ทราบหรือไม่ว่าขั้นตอนนั้นเกิดจากอะไร  วันนี้ผมจะมาอธิบายขั้นตอนการเปิดเครื่องและการตรวจสอบตนเองของคอมพิวเตอร์


ขั้นที่ 1 กดปุ่มสตาร์ท หรือ ออนเครื่องโดยใช้ไขควงแตะที่ ATX Power switchขั้นที่ 2 Power supply ส่งไฟฟ้าไปเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ และส่งสํญญาณ(โดยใช้ทรานซิสเตอร์)ไปยังเมนบอร์ดและ CPU
ขั้นที่ 3 CPU จะล้างข้อมูลในรีจิสเตอร์และมีผลให้โปรแกรมเคาน์เตอร์มีค่าเท่ากับ F000 เป็นตัวเลขที่อยู่ในคำสั่งแรก โดยจะสั่งให้ CPU พร้อมประมวลผลที่อยู่ใน BIOS
ขั้นที่ 4 เมื่อ BIOS ทำงานครั้งแรก จะเริ่มขบวนการ POST (Power-on self-test) โดยมีการตรวจสอบตามลำดับดังนี้


  • ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ว่าพร้อมใช้หรือไม่ หากมีปัญหาจะส่ง Beep Code เตือน
  • ตรวจ system time และ date ที่อยู่ใน 64 ไบต์แรกของ CMOS
  • ตรวจสอบและเปรียบเทียบค่าที่เราตั้งไว้ กับสิ่งที่ติดตั้งในเครื่องหากไม่มีข้อผิดพราดจะโหลดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์พื้นฐาน(Basic device drive) และตัวขัดจังหวะ(Interrupt handler)สำหรับฮาร์ดแวร์ต่างๆ
  • ตรวจสอบนาฬิกาเวลาจริง (RTS : Real-time Clock) และระบบบัสของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้ว่าทำงานสัมพันธ์กันหรือไม่
  • BIOS ตรวจสอบว่าเป็น Cold boot หรือ Warm boot
  • ทดสอบหน่วยความจำ RAM
  • ทดสอบ Drive Disk ต่างๆ
หากการทดสอบทั้งหมดไม่มีปัญหาก็จะเริ่มกระบนการโหลดระบบปฏิบัติการ (OS)



ประเภทของการบู๊ตเครื่อง 
ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ

โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป

วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
  • กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
  • กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
  • สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

สาธิตการถอด-ประกอบคอมพิวเตอร์ และกสนออนเครื่องนอกเคส


สำหรับวันนี้เราก็จะมาสาธิต วิธีการถอดประกอบคอมพิวเตอร์ และการออนเครื่องนอกเคสกันนะครับ

ขั้นตอนอาจจะยุ่งยากไปบ้าง  ไปรับชมกันเลยดีกว่าครับ






เป็นไงกันบ้างครับ ผมหวังว่าคลิปวีดีโอนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ